การพายเรือยางล่องแก่ง
ระดับความยากง่ายของแก่ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ระดับดังนี้
ระดับ 1 : ง่ายมาก (Easy)
สายน้ำไหลเร็วม้วนตัวเป็นเกลียว และมีคลื่นเล็ก ๆ มีอุปสรรคกีดขวางเล็กน้อย แต่มองเห็นชัดเจน และหลบเลี่ยงได้ง่าย
ระดับ 2 : ธรรมดา (Novice)
มีแก่งที่ทอดตัวตรงไปข้างหน้า มีช่องให้เรือผ่านที่กว้างชัดเจน โดยไม่จำเป็นต้องไปสำรวจแก่งก่อน อาจจะมีอุปสรรคเช่น ก้อนหิน หรือคลื่นขนาดกลางที่จำเป็น ต้องหลบหลีกบ้างในบางครั้ง แต่ก็สามารถหลบผ่าน ไปได้ง่าย
ระดับ 3 : ปานกลาง (Intermediate)
เริ่มมีแก่งพร้อมคลื่นขนาดกลางที่หลบหลีกได้ยาก และสามารถท่วมซัดขึ้นบน เรือยางได้ การหลบหลีกอุปสรรคจึงมีความซับซ้อนในกระแสน้ำเชี่ยวรวมถึงการบังคับควบคุม เรือยางให้ ผ่านช่องทางอันเฉพาะเจาะจง คลื่นลูกใหญ่หรือไม้ล้มขวางลำน้ำอาจจะมีปรากฏให้เห็น แต่ก็พอหลบหลีกได้
ระดับ 4 : ยาก (Advanced)
แก่งรุนแรงทรงพลัง แต่ยังอยู่ในวิสัยที่พอคาดการณ์ได้ว่าจะเจออะไร ซึ่งการบังคับคุม เรือยาง ในกระแสน้ำที่พลุ่งพล่านนี้ ต้องเป็นไปอย่างกระชับเที่ยงตรงมากทีเดียว ความยากระดับนี้ ยังต้องดูลักษณะของแม่น้ำสายนั้น ๆ อีกหลายประการ เช่น จะต้องเผชิญคลื่นขนาดใหญ่ หรือโพรงน้ำม้วนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจจะต้องบังคับเรือหลบหลีกอุปสรรคอย่าง รวดเร็ว เพื่อผ่านช่องที่เปิดให้เล็กน้อย แก่งเกรดสี่เริ่มมีระดับความเสี่ยงอันตรายที่เราต้องพยายามหาทางป้องกัน การสำรวจตรวจสอบก่อนที่ลงแก่งนั้นๆ เป็นครั้งแรก เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง ความเสี่ยงที่จะได้รับบาดเจ็บจากการลอยตัวอยู่ในน้ำ มีระดับปานกลางถึงสูง และภาวะของสายน้ำอาจจะทำให้ยากต่อการช่วยตัวเอง
ระดับ 5 : ยากมาก (Expert)
ช่วงอุปสรรคที่จะต้องเผชิญมีระยะที่ยาวมากๆ หรือแก่งที่รุนแรงมากๆ ในระดับที่เข้าข่ายอันตราย เรืออาจทิ้งตัวลงกระแทกคลื่น หรือโพรงน้ำม้วนขนาดใหญ่ที่่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรืออาจกระโจนลงน้ำตกสูงชันตามช่องทางที่ไม่เปิดให้อย่างราบรื่นนัก แก่งอาจต่อเนื่องเป็นระยะทางที่ยาวนานมาก การลอยตัวอยู่ในน้ำเป็นเรื่องอันตราย และการให้ความช่วยเหลือก็ทำได้ค่อนข้างยาก แม้จะกระทำโดยผู้ชำนาญก็ตาม การล่องแก่งเกรดห้าต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยอย่างเหมาะสมครบถ้วน และทีมงานต้องมีประสบการณ์ขั้นสูง
ระดับ 6 : อันตราย (Extreme)
ระดับ 6 เป็นระดับที่ยาก และอันตรายเกินกว่าที่จะลง ล่องแก่งได้ อย่างไรก็ตามสำหรับทีม ผู้ชำนาญที่มีการสำรวจ และเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดี การล่องแก่งเกรด 6 ในช่วง โอกาสที่ระดับน้ำเหมาะสมก็อาจเป็นไ ปได้เช่นกัน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการล่องแก่ง อุปกรณ์ตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อใช้ ล่องแก่งประกอบด้วย
1. เรือยาง หรือ แพยาง
2. เสื้อชูชีพ
3. ไม้พาย
4. หมวกนิรภัย
|
หลักการพายเรือล่องแก่ง
ลักษณะของสายน้ำและการอ่านสายน้ำ
ความแรงของกระแสน้ำจะขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่างๆ ในธรรมชาติ เช่น ความลึก (Volume) โดยร่องน้ำยิ่งลึกมาก กระแสน้ำก็จะยิ่งไหลแรงมากขึ้นตาม
การไหลของน้ำ (Gradient) สามารถแยกได้เป็น 2 อย่าง คือ
แก่ง (Rapid) ซึ่งน้ำจะไหลเร็วและแรงมาก
แอ่ง (Pool) น้ำจะไหลช้า และมีความลึกมาก ปกติโดยทั่วไป บริเวณต้นแก่งน้ำ จะไหลเอื่อยและช้ากว่ากลางแก่ง หรือปลายแก่ง
อีกสิ่งหนึ่งที่ควรรู้และนักล่องแก่งต้องคำนึงถึงก็คือ ความเร็วของกระแสน้ำใต้ผิวน้ำและระดับน้ำจะต่างกัน โดยช่วงต่ำ กว่าผิวน้ำลงไป กระแสน้ำจะค่อย ๆ ลดความเร็วลง
สำหรับ ความลาดเอียงของหินใต้น้ำ (River Bend) จะมีผลต่อความแรงของกระแสน้ำด้วย คือบริเวณที่ลึก น้ำจะไหล แรงกว่าบริเวณที่ตื้น และภายใต้กระแสน้ำอาจจะมีหินใต้น้ำที่มองไม่เห็น และเป็นอันตรายไม่น้อย คือต้นไม้ หรือกิ่งไม้ที่ล้ม ขวางน้ำ อาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกเรือ หรือตัวเรือได้
ร่องน้ำรูปตัววี (downstream V) สายน้ำจะบีบตัวเข้าหากันเป็นรูปตัววี โดยมีโขดหินสองข้างขวางลำน้ำ ทำให้เกิด เป็นร่องน้ำระหว่างหินนั้น ควรบังคับหัวเรือให้ตรงตามร่องตัววีนั้น แต่อย่างไรก็ตาม นายท้ายเรือจะต้องตัดสินใจในการ แก้ไขสถานการณ์ล่วงหน้าอีกครั้ง เพราะช่องทางที่ดีที่สุดที่เห็นนั้น อาจจะพัดนักผจญแก่งไปกระแทกกับหินก็ได้
ร่องน้ำรูปตัววีคว่ำ ที่หันมุมแหลมเข้าหาเรานั้น จะเป็นอันตรายมาก เรืออาจจะกระแทกกับหิน หรือน้ำอาจดูดเข้าไปหา จนทำให้เรือ หรือตัวเรากระแทกกับแก่งหินได้
น้ำวน ในกรณีนี้จะต้องพายเรือออกจากศูนย์กลางของวังน้ำวนให้เร็วที่สุด และกรณีผู้ที่ตกน้ำก็เช่นกัน จะต้องพยายาม ว่ายออกจากศูนย์กลางให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องสนใจว่าฝั่งจะอยู่ทางใด และเมื่อหลุดจากวังน้ำวนมาแล้วค่อยว่ายเข้าหาฝั่ง
น้ำนิ่งหลังแก่ง (Eddy) กระแสน้ำบริเวณหลังแก่งจะเป็นน้ำวนไหลย้อนทิศทาง ทำให้มีความแรงของน้ำน้อยลง สามารถใช้เป็นจุดพักเรือได้
คลื่น (Wave) ในกระแสน้ำที่ไหลแรงและลึก หินใต้น้ำ และผิวน้ำจะทำให้เกิดคลื่นน้อยใหญ่แตกต่างกัน คลื่นนั้นอาจจะ ม้วนเป็นวงอย่างแรง ควรพยายามหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้ควบคุมเรือยาก เรืออาจจะถูกกระแสน้ำม้วนทำให้พลิกคว่ำได้
น้ำม้วนหน้าแก่ง (Hydro) เกิดจากกระแสน้ำที่ตกจากที่สูง น้ำที่ตกลงมาจะม้วนตัวอยู่หน้าแก่งก่อนที่จะไหลต่อไป ซึ่ง ถ้ามีความแรงมาก ๆ ก็สามารถที่จะพลิกเรือให้คว่ำได้ และถ้ากระแสน้ำไหลตกจากที่สูงมากเท่าใด ก็จะยิ่งอันตรายมาก เท่านั้น
ถ้ากรณีที่เรือพลิกคว่ำหลังลงจากที่สูงแล้ว ผู้ตกน้ำควรจะดำน้ำมุดหนีโพรงน้ำนั้นให้เร็วที่สุด อย่าพยายามขึ้นมาเหนือน้ำ เพราะกระแสน้ำจะม้วนดูดกลับลงไปอีก
|