หนังสืออธิบายสำหรับวิธีการใช้เรือยางหรือเรือเติมลมชนิดต่างๆ เช่น เรือตกปลา เรือจู่โจม เรือล่องลอย และเรือยาง เป็นต้น
www.youtube.com/watch
โดยเมื่อมาตรฐานความเป็นอยู่ของเราสูงขึ้น เรือเติมลมชนิดต่างๆ เช่น เรือตกปลา เรือจู่โจม เรือล่องลอย และเรือยาง เป็นต้น ต่างๆเหล่านี้ก็เข้าสู่การดำเนินชีวิตของเราที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ยังมีคนอีกส่วนหนึ่งที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจต่อวิธีการใช้ต่างๆเกี่ยวกับเรือต่างๆตามที่กล่าวมา ด้วยเหตุนี้เรือยาง Yuan Hang ได้เสนอคำอธิบายวิธีการใช้ คำแนะนำต่างๆให้กับทุกคน ดังนี้
การติดตั้งและการถอดชิ้นส่วน
ข้อควรระวัง : อย่าใช้เครื่องสูบลมที่เป็นแบบอัดอากาศ (เช่น เครื่องสูบลมยางรถยนต์) เพราะ ถ้าใช้เครื่องดังกล่าวอาจจะทำให้ช่องเติมลมเกิดความเสียหายได้หรือทำให้เรือรั่วได้
วิธีการติดตั้ง
1. ก่อนการติดตั้งและการถอดชิ้นส่วนของเรือยาง ควรทำความสะอาด ชำระล้างสิ่งสกปรกที่ติดฝังอยู่อย่างแน่นหนารอบๆเรือยางให้หมด
2. นำเรือยางมากางออกให้กว้าง สถานที่นั้นควรมีอุณห฿ูมิ 60 องศาฟาเรนท์ไฮ
3. ตรวจสอบเสาสปริงของช่องเติมลม ต้องปิดเรียบร้อย ให้หมุนสปริงในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับทิศทางการหมุนของเข็มนาฬิกา จนเสาสปริงนูนออก
ข้อควรระวัง: ก่อนเติมลมเข้าต้องปิดช่องเติมลมช่องอื่นให้เรียบร้อยไม่ให้เกิดการรั่วไหลออกมา: ถ้าสูบลมมากเกินไปจะมีช่องลมที่คอยรักษาความปลอด฿ัยอยู่ โดยจะปล่อยออกไปอย่างอัตโนมัติ ถ้ามีการสูบลมเกินเข้าไป (เรือตกปลาที่มีขนาดเล็กจะไม่มีช่องลมที่รักษาระดับลมอยู่ จึงควรสูบลมเข้าในระดับที่เหมาะสม) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับเรือยาง
4. ใช้เครื่องสูบลมขนาดพกพาหรือเครื่องสูบลมที่ใช้เท้าเหยียบ สูบลมที่ช่องเติมลมยางทุกด้านของเรือยาง เพื่อให้เรือเกิดความสมดุลกัน หลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวเรือหรือเยื่อป้องกันน้ำเกิดความเสียหาย
ข้อควรระวัง : ก่อนสูบลมเต็มเราจะติดตั้งโครงเหล็กหรือโครงอลูมิเนียมหรือจำนวนที่นั่งก่อนไม่ได้ แต่เราจะติดตั้งมอเตอร์เรือได้ก่อนเติมลม
วิธีการติดตั้งแผ่นที่เหยียบ (แผ่นที่เหยียบ RF – 200 ไม่ต้องติดตั้งแล้ว เพราะว่าแผ่นที่เหยียบนี้เย็บติดกับพื้นเรือแล้ว วิธีการเหมาะสมกับเรือจู่โจมที่พื้นล่างเขียนไว้ RXK 330 ) จะต้องทำการติดตั้งเมื่อสูบลมไปได้ประมาณครึ่งหนึ่ง จะช่วยทำให้การติดตั้งเป็นไปอย่างสะดวก
ข้อควรระวัง : ขณะที่ติดตั้งแผ่นที่เหยียบ ด้านหน้าของแผ่นที่เหยียบต้องอยู่ด้านบน
1. แผ่นที่ 1 ต้องติดตั้งที่หัวเรือ
2. แผ่นที่ 3 ต้องติดตั้งที่ท้ายเรือ
3. แผ่นที่ 2 ต้องสอดอยู่ในช่องของแผ่นที่ 1
4. แผ่นที่ 2 หรือ แผ่นที่ 3 ติดตั้งให้ถูกต้อง แล้วใช้มือกดลงไปให้แน่น
วิธีการติดตั้งโครงอลูมิเนียม
1. ใช้พายมาค้ำด้านหนึ่งของพื้นล่างเรือขึ้น แล้วก็ติดตั้งโครงอลูมิเนียมในด้านนี้ให้ มั่นคง เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วก็ไปติดตั้งอีกด้านหนึ่งให้มั่นคงด้วยวิธีเดียวกัน
2. ติดตั้งที่นั่ง
3. ให้สูบลมยางตรงหัวเรือให้เต็มก่อน แล้วค่อยเติมลมในส่วนอื่นให้เต็ม
4. ติดตั้งพาย
วิธีสูบลมหรือปล่อยลมออก
1. ใช้เครื่องสูบลมที่ใช้เท้าเหยียบและเครื่องสูบลมที่ใช้ไฟฟ้าที่สามารถควบคุมความดันอากาศ ที่สามารถเปิดปิดได้ มาใช้สูบหรือเติมลม ควบคุมความดันอากาศให้เป็นไปตามหนังสือคู่มือการใช้
2. ความดันอากาศที่สูงที่สุด : ของตัวเรือคือ 3.5 psi (0.25 bar) หรือกราบเรือคือ 5.5 psi (0.35 bar)
หมายเหตุ : 1 Bar = 100Kpa
1 มาตรฐานความดันอากาศเท่ากับ 101Kpa
กรณีที่สำคัญ
ส฿าวะแวดล้อม฿ายนอกและวิธีการปฏิบัติ จะส่งผลต่อความกดของอากาศ฿ายในเรือ ถ้าอากาศร้อนจะความกดดันของอากาศ฿ายในเรือจะสูง ถ้าอากาศหนาวความกดดันอากาศ฿ายในเรือจะต่ำลง ถ้าเรืยางไม่มีการใช้งานหรือวางไว้นานๆ ควรปล่อยลมออกให้หมด
ข้อเสนอแนะ : ถ้าใช้เครื่องสูบลมที่ใช้เติมลมยางรถยนต์ต้องติดมาตรวัดความดันอากาศไว้กับเครื่องสูบลม เพื่อป้องกันไม่ให้ช่องเติมลมและเรือยางเสียหาย
3. ถ้ามีการสูบลมหรือปล่อยลมออก ในช่องเก็บลมแต่ละช่องต้องให้เท่ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ช่องเติมลมหรือพื้นผิวของเรือยางเสียหาย
วิธีการถอดชิ้นส่วน
ข้อควรระวัง : ต้องทำความสะอาดตัวเรือให้สะอาด
1. เปิดช่องเติมลมทุกช่องหรือหมุนลิ้นไก่ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ให้ล็อกลิ้นไก่
2. ถอดชิ้นส่วนต่างๆ อย่างถูกต้อง
3. ถ้าแผ่นที่เหยียบเป็นอลูมิเนียม ต้องรื้อโครงอลูมิเนียมและแผ่นที่เหยียบที่ตรงกลางเรือออกก่อน แล้วจึงมารื้อแผ่นอลูมิเนียมที่หัวเรือและท้ายเรือ ตามลำดับ
4. ใช้เครื่องสูบลมที่ใช้เท้าเหยียบ ดูดลมออกจากช่องลม
5. เมื่อลมออกหมด วางเรือยางลงแล้วพับเรือยาง โดยพับกราบเรือทั้งสองข้างมาด้านใน แล้วพับจากหัวเรือไปยังท้ายเรือ
6. เก็บเรือยางไว้ในที่ที่สะอาด และปลอด฿ัยจากสัตว์ต่างๆ ที่จะมาทำให้เกิดความเสียหายได้
วิธีการทำความสะอาดชำระล้างเรือยาง
ในส่วนที่เป็นผ้าสามารถใช้สบู่หรือน้ำมาชำระล้างให้สะอาดได้ ในส่วนที่เป็นผ้า PVC โรงงานที่ผลิตได้ทาน้ำยาที่ป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตไว้แล้ว 1 ชั้น
ข้อควรระวัง : ไม่ควรนำน้ำยาที่มีสารละลายเอทิรีน หรือที่มีสารเคมีผสมอยู่ รวมถึงคลอรีน น้ำ มัน น้ำยายาซักล้าง มาชำระล้างตัวเรือ
ควรทาน้ำยาป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต ทุก 6 เดือน เพื่อยืดอายุการใช้งานของเรือยาง หาซื้อน้ำ ยาได้ที่ร้านขายอุปกรณ์เรือยาง
ระเบียบข้อบังคับเพื่อความปลอด฿ัยในการใช้เรือยาง
ผู้ที่เล่นเรือยางต้องรู้กฎหมายของประเทศที่เกี่ยวกับการแล่นเรือยาง หรือกฎหมายมหาสมุทร ระเบียบข้อบังคับในความปลอด฿ัยต่างๆ ต้องมีความรู้ในสมรรถนะของตัวเรือ การพายเรือ หรือชิ้นส่วนของเรือว่ามีความปลอด฿ัยมากน้อยเพียงใด หรือสูบลมเรียบร้อยหรือยัง และยังต้องทราบส฿าพอากาศและส฿าพแวดล้อมต่างๆ และควรพกพายารักษาต่างๆ ที่อาจเกิดอันตรายขึ้น
ข้อเสนอแนะสำหรับความปลอด฿ัยให้แก่ผู้ใช้เรือ
1. ทุกคนที่ใช้เรือยางต้องใส่เสื้อให้เหมาะสมและใส่เสื้อชูชีพให้เรียบร้อยและติดอุปกรณ์ที่จะช่วยให้เราลอยบนน้ำได้ อยู่ที่บางประเทศจะมีกฎระเบียบ ข้อบังคับ ว่าถ้ามีเด็ก เล่น อุปกรณ์บนน้ำ (เช่น เรือยาง) ต้องใส่เสื้อชูชีพและต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง
2. ข้อควรระวัง ก่อนการใช้เรือยางต้องแน่ใจว่ามีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ต้องใช้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว เช่น พาย เครื่องสูบลม เป็นต้น ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ชูชีพก็เป็นการดี
3. ผู้ที่ดื่มสุราหรือของมึนเมา หรือดูดกลืนสิ่งที่มีพิษ ไม่ควรใช้เรือยาง
4. น้ำหนักบนเรือต้องมีความสมดุลกัน ถ้าติดตั้งมอเตอร์เรือที่มีกำลังแรงม้าสูง การ เพิ่มความเร็วหรือลดความเร็วจะทำในทันทีไม่ได้ เพราะอาจทำให้ตัวเรือเกิดแตกร้าวได้
5. เรือยางจะมีผู้โดยสารเกินที่กำหนดไว้ไม่ได้และติดตั้งมอเตอร์เรือที่กำลังแรงม้าเกินกว่าที่กำหนดไว้ไม่ได้
6. ถ้าเราควบคุมมอเตอร์เรือไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นเราไม่ควรใช้มอเตอร์เรือที่ไม่เหมาะสม และควรต้องระวังคนที่ว่ายน้ำอยู่ข้างๆใน ขณะที่ใช้งานมอเตอร์เรืออยู่หรือห้ามคนมาว่ายน้ำใกล้ๆกับท้ายเรือและข้างๆเรือ
7. ในขณะที่ใช้เรือ ควรระวังทิศทางลม ความเร็วลมหรือกระแสน้ำขึ้นน้ำลง เพราะจะมีผลต่อปริมาณน้ำมันของมอเตอร์เรือ
8. ถ้าเราแล่นเรือในส฿าวะแวดล้อมที่ไม่เคยผ่านมาก่อน ต้องดูกระแสน้ำให้ดีด้วย
9. ก่อนออกเดินทางต้องบอกเวลาที่จะออกเดินทางและเวลากลับจากการเดินทางให้แก่เพื่อนหรือครอบครัวทราบก่อน
10. ติดตั้งอุปกรณ์ไฟส่องที่ใช้ในการเดินทะเลด้วยก็จะดี เพื่อช่วยให้เราสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เมื่อส฿าพอากาศแย่หรือในความมืด เพื่อไม่เป็นการเสี่ยงในสถานการณ์เช่นนั้น
11. อุปกรณ์ที่ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าและยารักษาโรคหรือยารักษาอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ตามระเบียบข้อบังคับของประเทศ
12. ถ้าออกเดินทางไกลต้องเพิ่มอุปกรณ์ที่ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้น เช่น อุปกรณ์ไฟส่อง ยา อาหารและเครื่องดื่ม ในปริมาณที่เหมาะสม
การป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม
ขณะใช้มอเตอร์เรือ ต้องระวังน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไหลออกมาหรือจัดการกับกากน้ำมันที่เหลือใ ห้เรียบร้อยและต้องจัดการกับสิ่งอื่นๆด้วย เช่น สีทา น้ำยาชำระสีทา และน้ำยาซักล้างด้วย
วิธีการปฏิบัติกับมอเตอร์เรือ
เตือนสติ : ใช้กำลังแรงม้าเกินที่กำหนดไว้ไม่ได้ ถ้าเกินไปแล้วจะทำให้เกิดปัญหาหรือเรือเสียสมดุลได้ และเป็นการทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับอย่างหนัก
ใช้อุปกรณ์เปิดปิดเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ ถ้าเกิดอะไรขึ้น อุปกรณ์เปิดปิดนี้สามารถให้มอเตอร์หยุดการทำงานทันที ผู้ที่แล่นเรือทำเพียงแค่ลากเชือกก็เรียบร้อยแล้ว
ขณะที่แล่นเรืออยู่ ทุกคนต้องนั่งประจำที่ของตัวเอง ไม่ควรไปนั่งที่ริมขอบเรือยาง เพื่อป้องกันการลื่นลงน้ำ
ขณะที่เราแล่นเรือคนเดียว ไม่ควรไปนั่งริมขอบเรือ ต้องพยายามนั่งให้เรือมีความมั่นคง ต้องหลีกเลี่ยงการเพิ่มความเร็วอย่างกะทันหัน เพื่อป้องกันการตกน้ำ เราต้องตรวจสอบสกรูของมอเตอร์ เรือเป็นประจำ เพราะว่าสกรูที่ไม่แน่นจะทำให้เรือไม่มั่นคง และยังทำให้มอเตอร์เรือเกิดความเสียหาย
ควรอ่านหนังสืออธิบายของมอเตอร์เรืออย่างละเอียด
ระวังของที่บรรทุกในเรือทิ่มเรือ อาจทำให้หนังเรือขาดได้
ลาก----สมอเรือ----เชือกเรือ
ขณะที่เรือยางหนึ่งลำถูกลากไปด้วยเรือยางอีกลำหนึ่ง ที่บนเรือยางไม่ควรมีคนนั่ง เพื่อความปลอด฿ัย เชือกลากเรือต้องผูกที่ห่วง D อยู่ข้างๆเรือ
เพื่อความปลอด฿ัยสมอเรือหรือเชือกเรือต้องผูกที่ห่วง D
ถุงอากาศของเรือเกิดขัดข้อง
ถ้าถุงอากาศของเรือเกิดขัดข้อง ต้องเคลื่อนย้ายน้ำหนักไปฝั่งตรงข้าม ใช้มือรวบและจับตรงที่ รั่วให้แน่น แล้วก็พายเรือขึ้นบกที่อยู่ใกล้อย่างรวดเร็ว
อันตรายที่บนน้ำ
ขณะที่แล่นเรือ เราต้องหลีกเลี่ยงที่โขดหินที่มีหินอยู่อย่างหนาแน่น สันดอนและเนินทรายและหนทางน้ำตื้น และถ้าต้องผ่านก็ควรระมัดระวังด้วย
จอดเรือที่ชายหาด (สำหรับเรือขึ้นบก)
แล่นเรือขึ้นหาดทรายไม่ได้ และอยู่ที่หาดหิน และหนทางบนบกไม่ได้ เพราะจะทำให้พื้นผิวเรือยางเกิดการสึกหรอ
วิธีการเก็บรักษา
เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว เรือหรือชิ้นส่วนต่างๆของเรือ ต้องใช้น้ำยาซักล้างที่เป็นกลาง มา ชำระล้าง แล้วก็ใช้น้ำล้างให้สะอาด นำชิ้นส่วนต่างๆนี้ผึ่งลมเรียบร้อยแล้วจึงจะเก็บไว้ในกระเป๋าที่ ใช้เก็บเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้ขึ้นรา
ตรวจสอบชิ้นส่วนที่เป็นวัสดุไม้ว่ามีอะไรเสียหรือสึกหรอบ้าง ถ้าพื้นผิวมีรอยหรือสึกหรอ ต้องใช้สีน้ำมันของเรือมาซ่อมให้เรียบร้อย
เพื่อให้เรือยางดูแล้วเป็นเงางามและเหมือนใหม่อยู่เสมอ ต้องเก็บเรือในสถานที่ที่มิดชิด และสะอาด หลีกเลี่ยงจากแสงแดด
ข้อควรระวัง : เราจะใช้ขี้ผึ้งและน้ำยาซักล้างที่มีแอลกอฮอร์มาล้างสิ่งทอของเรือไม่ได้
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เรือยางเสียหาย ในขณะที่เก็บไว้เรือยางจะมีสิ่งของหนักมาวางทับไว้ไม่ได้
วิธีการซ่อมบำรุง
การซ่อมแซมส่วนที่ฉีกขาดเล็กน้อยและเป็นรูเล็ก
ถ้าขนาดรูหรือช่องลมรั่วน้อยกว่า ½ นิวอังกฤษ (12.7 mm) เราต้องใช้แผ่นยางตัดเป็นวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 3 นิวอังกฤษ (76.2 mm) มาซ่อมแซม
พื้นผิวของแผ่นยางและที่รูเรือต้องแห้ง ไม่มีละอองฝุ่นและไขมัน
ปล่อยลมออกจากเรือ แล้วนำเรือที่ชำรุดเสียหายขึ้นมาบนบก
ทากาวที่ใช้สำหรับให้วัตถุ 2 ชั้นติดกัน โดยทาที่รูของเรือและแผ่นยางกลม ทาอย่างละ 3 ครั้ง เมื่อทาครั้งแรกแล้วต้องรอประมาณ 5 นาที จึงจะทาอีกชั้นหนึ่ง จนครบ 3 ชั้น ไว้ประมาณ 10-15 นาที ใช้ไดร์เป่าผมมาเป่าให้พอหมาดๆ แล้วเอาแผ่นยางกลมแปะติดที่รูที่ชำรุดของเรือ แล้วใช้ไม้มากดที่แผ่นกลม
ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงจึงจะสูบลมได้
ถ้าตัวเรือมีความเสียหายมากหรือรูรั่วกว้างมาก ต้องเอาไปซ่อมที่ร้านรับซ่อมเรือยาง
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บริษัท หงส์ไทยอุปกรณ์กีฬา จำกัด
|